วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

สอน after effect เบื้องต้น – Keyframe Assistants

1. ในการเลือก keyframe ทีละมากๆ เราอาจจะใช้วิธีการลากคลุม keyframeที่เราต้องการ โดยใช้เครื่องมือ selection tool โดยถ้ามีตัวไหนที่ไม่ต้องการติดมาด้วย ให้กด shift แล้วคลิกไปที่ตัวนั้นเพื่อยกเลิก

2. การเลือก keyframe ทั้งหมดใน layer อาจจะคลิกไปที่ property จะเป็นการเลือก keyframe ทั้งหมด
3. การเลือกkeyframe ทั้งหมดในcomposition ให้เรากดshortcut Ctrl + Alt + a
4. ยกเลิกการใช้keyframes ทั้งหมด ให้เลือกที่ property นั้นแล้วไปคลิกที่ไอคอนนาฬิกา (stopwatch)
5. การลากkeyframe ให้วางตำแหน่งพอดีกับtime indicator ให้เรากดshift ค้างหลังการลาก ตัว keyframeจะถูกดูดไปติดกับ time indicator
6. การลาก keyframe ให้เคลื่อนที่ทีละเฟรม ให้เรากด alt ค้างแล้วกดลูกศรไปยังทิศทางที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการทีละ 10 เฟรม ให้กด alt + shift แล้วกดลูกศรไปยังทิศทางที่ต้องการ

Copy and Paste Keyframes
เราสามารถ copy keyframe จาก propertyอันนึง ไปวางบน propertyอีกอันได้ โดย propertyทั้งสองจะต้องมีรูปแบบการใส่ค่าที่เหมือนกัน เช่น เราก็อปปี้ keyframe จาก position ซึ่งประกอบไปด้วยค่า x,y สามารถนำไปวางใน anchor point ได้ เพราะประกอบด้วยค่า x,y เหมือนกัน แต่ถ้าเราเอาไปวางไว้ที่ scale จะไม่สามารถทำได้ จะขึ้น error ตามภาพ เพราะ scale ประกอบด้วยค่าขนาดที่เป็นเปอร์เซ็นต์
Motion Sketch
สอน after effect เรื่องต่อไปจะเกี่ยวกับการทำอนิเมชั่นของตำแหน่ง โดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า Motion Sketch เราสามารถกำหนดkeyframeได้อย่างอิสระ โดยใช้ mouse ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เราไปดูวิธีทำกันเลยครับ
1. เตรียม layer ที่จะทำ จากนั้นไปเลือกที่ Window – Motion Sketch
2. ค่าCapture Speed ที่ 100 คือ ที่ความเร็วในการ captureปกติ ถ้าเราตั้งค่ามากกว่า 100 จะเป็นการทำ speed capture ส่วนการตั้งค่าน้อยกว่า 100 จะเป็นการทำ slow capture ส่วนค่า smoothถ้ายิ่งตั้งค่ามาก จะทำให้ได้จำนวนkeyframe น้อยลง ส่งผลให้การเคลื่อนที่ smoothขึ้น
3. ให้เราทำการกดปุ่ม start capture เมื่อเราคลิกเม้าส์เมื่อไร เวลาจะเริ่มเดินพร้อมทั้งเสียงเพลง เมื่อเราปล่อยเม้าส์จะเป็นการหยุดหรือถ้าเวลาหมด มันก็จะหยุดเอง หลังจากเสร็จสิ้นจะเกิดkeyframe ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
4. เราใช้หลักการเดียวกันนี้ทำกับ dummy layer เช่น solid layer แล้ว copy ค่าที่ได้ไปใส่ไว้ในeffect เช่น Lens Flare
Smoother
หลังจากที่เราได้ใช้คำสั่ง Motion Sketch บางครั้งการเคลื่อนที่ยังดูไม่ค่อยราบรื่นเท่าไร แม้ว่าจะพยายามปรับค่า smooth ในฟังก์ชั่นของ Motion Sketch แล้วก็ตาม เราใช้คำสั่ง Smoother ที่ช่วยให้การเคลื่อนที่ มีความนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น
1. เตรียม layer ที่ได้ทำ Motion Sketch ไว้แล้ว จากนั้นเลือกที่ Window – Smoother
2. ในช่องของSmoother จะมีคำสั่งว่าApply to ถ้าเป็นPosition จะเป็นแบบSpatial Path ส่วนถ้าเป็นproperty แบบอื่นๆ เช่น opacity จะเป็นแบบTemporal Graph ลองปรับค่าTolerance ดูแล้วกดapply ดูผลที่เกิดขึ้น ถ้ายังไม่พอใจให้ undo แล้วปรับค่าTolerance ใหม่
Auto-Orient Rotation
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับให้วัตถุหมุนไปตามทิศทางที่เราได้กำหนดไว้ เช่น เราให้ผีเสื้อเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่เรากำหนด แต่ถ้าผีเสื้อไม่หมุนหัวตาม ก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติ
1. เตรียม layer ที่ได้จัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว
2. คลิกเลือกไปที่Position property ใน Timelineแล้วเลือกคำสั่ง Layer – Transform – Auto-Orient
3. เลือก Orient Along Path
4. ปรับองศาการวางตำแหน่งของจุดเริ่มต้นใหม่ โดยปรับ rotation ไปที่ 90 องศา
5. คราวนี้หัวของผีเสื้อก็จะหมุนไปตามทิศทางที่เรากำหนดแล้วครับ
Spatial Path and Temporal Graph
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับ animationส่วนมาก จะมีค่า parameter ให้เลือกว่าจเป็นแบบspatial path หรือ temporal graph ความแตกต่างของมันก็คือ แบบ spatial มันจะเกี่ยวข้องกับแกน XYZ เช่นPosition, Anchor point และก็ Effect point แบบต่าง แต่ Propertiesส่วนมากจะใช้แบบ Temporal แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เราสามารถแก้ไขค่าต่างๆได้ในภายหลังครับ
The Wiggler
เป็นฟังก์ชั่นการทำงานที่จะสร้าง keyframeแทรกขึ้นมาใหม่ระหว่าง keyframe ทั้งสอง โดยกำหนดค่าแบบ random Layer ที่จะใช้งานคำสั่งนี้ต้องมี keyframesอย่างน้อย 2 keyframes ลองมาดูค่าต่างๆใน Wigglerกัน
1. Window - Wiggler
2. ในหน้าต่างของ Wiggler จะมีค่าที่น่าสนใจ ดังนี้
Apply To เราสามารถเลือกเป็นSpatial หรือ Temporal
- Noise Type ต้องการให้ราบเรียบมากหน่อยหรือแบบสั่นเยอะๆ
Dimension ทิศทางที่ต้องการทำ ถ้าเราใช้ค่า All Independently จะเหมาะกับ Position ส่วนAll the same จะเหมาะกับ Scale
- Frequency จำนวนของ keyframe ที่จะสร้างขึ้นมา
Magnitude ค่าของparameter จะ random ไปขนาดไหน
3. วิธีใช้ Wigglerให้เราคลิกไปที่ propertyของเรา จากตัวอย่าง คือ positionเสร็จแล้วไปตั้งค่าตามข้อ 2 จากนั้นกดapply จะมี keyframeเกิดขึ้นมา
Time-Reverse Keyframes
สอน after effect เรื่องต่อไป ผมจะขอแนะนำการทำอนิเมชั่นแบบย้อนกลับ เช่นจากการเดินหน้าก็ให้เดินถอยหลัง เรามีขั้นตอนวิธีทำที่ง่ายมาก ดังนี้
1. คลิกเลือก keyframe ที่ต้องการทำ reverse แล้วคลิกขวา Keyframe Assistant – Time-Reverse Keyframes
2. ถ้าเราต้องการทำ reverse ทั้งหมดทุกkeyframes ให้คลิกเลือกproperty ก่อน ในที่นี้ คือ Position เพื่อเป็นเลือกkeyframes ทั้งหมด แล้วไปที่ Toolbar – Animation – Keyframes Assistant – Time-Reverse Keyframes
Exponential Scale
สอน after effect เรื่องต่อไปจะขอแนะนำเกี่ยวกับการใช้exponential scale ครับ ยกตัวอย่างเมื่อเราทำการ scale เริ่มตั้งแต่ 0ไปจนถึง 1000ผลที่ได้จะเป็นดังภาพครับ คือ การเคลื่อนที่จะเร็วมากในช่วงแรก ในตอนหลังๆการเคลื่อนที่จะช้าลง เหตุผลเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในการเพิ่มค่าของแต่ละช่วงไม่เท่ากันครับ
เรามีวิธีแก้ไขให้การเคลื่อนที่ในแต่ละ keyframeมีอัตราที่คงที่ เราไปดูทีละขั้นตอนครับ
1. ให้ตั้ง keyframeแรกจาก 0% เป็น 2%
2. คลิกเลือกไปที่Scale เพื่อเลือก keyframesทั้งหมดแล้วไปที่ Animation – Keyframe Assistant – Exponential Scale
3. จะมีkeyframes เกิดขึ้นมามากมาย และจะมีรูปแบบการเคลื่อนที่เป็นแบบ exponential ซึ่งจะมีความเร็วคงที่

www.effectvideo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น