วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

โปรแกรมสร้างวีดีโอ premiere pro cs6



การทำงานกับโปรแกรมการสร้างวีดีโอ Premiere Pro
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรจะมีปริมาณ Ram ที่ค่อนข้างมาก และไม่ควรต่ำกว่า 12 GB และอีกส่วนที่สำคัญคือ Graphic Card ควรจะมี Ram เป็นของตัวเองอย่าง 1 - 2 GB

พื้นที่การทำงาน Workspace
สามารถเลือกรูปแบบ Preset ได้หลายรูปแบ หรือจะทำการจัดเรียงเพื่อให้เกิดรูปแบบที่เราต้องการก็ได้เหมือนโปรแกรมทั่วไปในตระกูล Adobe


วิธีการเปิดใช้ Workspace
ใช้เมนู Windows - Workspace แล้วเลือกรูปแบบที่ต้องการ ในแถบของ Workspace จะมีรายการ Import Workspace from Project ถ้าคลิกเลือกตัวนี้ไว้ จะเป็นการกำหนดให้ระบบจำ Workspace ล่าสุดที่มีการใช้งาน


เมื่อเลือกรูปแบบ Workspace ได้แล้ว แต่ต้องการ Panel ใด ก็เพียงคลิกส่วนหัวของ Panel นั้นแล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อลาไปที่ Frame ใด จะมีแสงสีม่วงแสดงตำแหน่งที่จะวาง โดยสามารถแบ่งตำแหน่งต่างๆ ได้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน คือ บน ล่าง ซ้าย ขวา หรือตรงกลาง Frame

แต่ละส่วนของหน้าต่าง Workspace จะมีแถบที่สามารถคลิกแถบที่อยู่เหนือ Panel นี้เพื่อเลื่อนดู Panel ต่างๆ ซึ่งรวมอยู่ได้
Workspace Editing
จะเป็นพื้นที่การทำงานในการสร้างชิ้นงานปกติ ซึ่งจะประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 4 Frame ด้วยกัน ประกอบด้วย



Source Panel = ส่วนที่ใช้แสดงภาพจากส่วนของ Project Panel (ซ้านบน)
Project Panel = สำหรับเปิดหา Drive / File ต่างๆ (ซ้ายล่าง)
Program Panel = ส่วนที่แสดงภาพของชิ้นงานในส่วนของ Sequence (ขวาบน)
Sequence = ส่วนที่ใช้ในการสร้างงานวีดีโอ (ขวาล่าง)


ในส่วนของ Frame ด้านล่างซ้าย คือ Project Panel สามารถปรับ View เป็น List view หรือ Icon View ได้ด้วยการคลิกที่ไอคอนซึ่งอยู่ด้านล่างของ Frame และยังสามารถคลิกเพื่อเลื่อนปรับแถบ Size ที่อยู่ติดกันเพื่อปรับขนาดได้ด้วย

การปรับตั้งค่าพื้นฐานของโปรแกรม
สามารถปรับได้จากในส่วนของ Preference โดยการเปิดที่เมนู Edit - Preference และทำการตั้งปรับค่าส่วนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการ สำหรับการตั้งค่านี้จะเขียนเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น
General = ควรปรับตั้งค่าที่ส่วนของ Video Transition กับ Audio Transition
Appearance = ใช้ในการปรับค่าความสว่างของโปรแกรม
Auto Save = ใช้ในการปรับตั้งการบันทึกชิ้นงานแบบอัตโนมัติ


การเปิดภาพ และสำรวจพื้นที่โปรแกรม
เมื่อได้กำหนด Workspace แล้ว ก็พร้อมที่จะเริ่มชิ้นงาน การสร้างงานวีดีโอก็จะมีการเปิดภาพ ซึ่งเปิดได้จากในส่วนของ Media Browser Panel ส่วนนี้จะเหมือนกับในส่วนของ Explorer เพื่อใช้ในการเลือก Disk Drive และ file ต่างๆ







การ Import Video File and Folder
สิ่งสำคัญ จะต้องบันทึก File จากเครื่องถ่ายวีดีโอมาเก็บไว้ที่ Hard Disk ของคอมพิวเตอร์ก่อน จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ Project Panel หรือใช้เมนู File - Import หรือคลิกเลือกที่ Media Browser Panel จากที่ซึ่งเก็บ File ในคอมพิวเตอร์ การทำทั้งหมดนี้ก็เพื่อเปิดหน้า Explorer จากนั้นเมื่อดับเบิ้ลคลิกที่ File ในส่วนของ Project Panel ก็จะแสดงขึ้นมาในส่วนของ Source Panel


การเปิด File ให้แสดงในส่วนของ Source Panel
ทำได้โดยการคลิก file จากส่วนของ Project Panel หรือจะทำการลาก file เข้าไปยังพื้นที่ของ Source Panel โดยตรงก็ได้ ถ้าต้องการดู File ที่อยู่ใน Folder ว่ามี file อะไรบ้าง ให้กดปุ่ม Ctrl แล้วคลิกที่ folder นั้น ก็จะแสดงทุก file ขึ้นมา


ถ้าเป็น Video File สามารถนำเม้าส์ Hover เข้าไปที่ Video Thumbnail ก็จะเห็นภาพวีดีโดโอเคลื่อนไหวตามการลากเม้าส์ไปด้วย และสามารถเลือกประเภท file โดยการพิมพ์ในชอ่ง Search เพื่อเลือก file ได้ด้วย

การเปลี่ยนชื่อ File ในส่วนของ Project Panel
ทำได้โดยการคลิกที่แถบชื่อแล้วพิมพ์เปลี่ยน ถ้าต้องการเพิ่ม Sequence ก็เพียงคลิกชื่อ หรือไอคอนของ File นั้นมาที่ New Item ซึ่งเป็นไอคอนที่อยุ่ส่วนล่างของ Panel นี้ จากนั้นก็สามารถลาก Sequence ใหม่นี้เข้าไปในส่วนของ Timeline ได้


สามารถกำหนดให้แสดงเฉพาะ Audio Waveform ก็ได้ โดยการคลิกลูกศรบนแถบ Source Panel เลือกเป็น Audio Waveform แทน Composite Video

การนำ File Video เข้าสู่ส่วนของ Program Frame (Sequence)
เพียงคลิกลากจากส่วนของ Source มาที่ส่วนของ Program หรือจะลากมาที่ส่วนของ Timeline ก็ได้เช่นกัน


การจับภาพจากวีดีโอ Capture Video Screen
ขั้นแรกจะต้องเลือกประเภทการ Capture จากหน้า New Project ว่าจะจับภาพแบบ DV หรือ HDV ส่วนมาแล้วจะเลือกเป็น DV เลือก Location ที่จะเก็บ Capture File และทำการตั้งชื่อ Project ด้วย จากนั้นเลือก Sequence ให้เป็น DV เช่นกัน


จากนั้นโดยการใช้เมนู File - Capture หน้าต่าง Capture เปิดขึ้นมา ภาพที่ได้จากการจับภาพจะมีนามสกุลเป็น DV การทำเช่นนี้จะต้องมีกล้องวีดีโอต่อกับคอมพิวเตอร์ก่อน

เริ่มการ Capture โดยให้กดปุ่ม Rewind วีดีโอกลับไปให้อยู่ในส่วนต้น จากนั้นตั้งชื่อในแถบของ Clip Data โดยตั้งชื่อในส่วนของ Tape Name และ Clip Name แล้วกดปุ่ม Tape ในแถบของ Capture เพื่อเริ่มการ Capture เมื่อ Capture เสร็จแล้ว โปรแกรมก็จะหยุดการ Capture แล้วจะกลับไปสู่หน้าปกติกของโปรแกรม ก็จะมี file ต่างๆ แสดงที่ Project Panel ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ file วีดีโอ ก็จะแสดงขึ้นมาใส่วนของ Source Panel





http://giveuwblog.blogspot.com/2012/12/premiere-pro-cs6.html

สอน after effect เบื้องต้น – Keyframe Assistants

1. ในการเลือก keyframe ทีละมากๆ เราอาจจะใช้วิธีการลากคลุม keyframeที่เราต้องการ โดยใช้เครื่องมือ selection tool โดยถ้ามีตัวไหนที่ไม่ต้องการติดมาด้วย ให้กด shift แล้วคลิกไปที่ตัวนั้นเพื่อยกเลิก

2. การเลือก keyframe ทั้งหมดใน layer อาจจะคลิกไปที่ property จะเป็นการเลือก keyframe ทั้งหมด
3. การเลือกkeyframe ทั้งหมดในcomposition ให้เรากดshortcut Ctrl + Alt + a
4. ยกเลิกการใช้keyframes ทั้งหมด ให้เลือกที่ property นั้นแล้วไปคลิกที่ไอคอนนาฬิกา (stopwatch)
5. การลากkeyframe ให้วางตำแหน่งพอดีกับtime indicator ให้เรากดshift ค้างหลังการลาก ตัว keyframeจะถูกดูดไปติดกับ time indicator
6. การลาก keyframe ให้เคลื่อนที่ทีละเฟรม ให้เรากด alt ค้างแล้วกดลูกศรไปยังทิศทางที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการทีละ 10 เฟรม ให้กด alt + shift แล้วกดลูกศรไปยังทิศทางที่ต้องการ

Copy and Paste Keyframes
เราสามารถ copy keyframe จาก propertyอันนึง ไปวางบน propertyอีกอันได้ โดย propertyทั้งสองจะต้องมีรูปแบบการใส่ค่าที่เหมือนกัน เช่น เราก็อปปี้ keyframe จาก position ซึ่งประกอบไปด้วยค่า x,y สามารถนำไปวางใน anchor point ได้ เพราะประกอบด้วยค่า x,y เหมือนกัน แต่ถ้าเราเอาไปวางไว้ที่ scale จะไม่สามารถทำได้ จะขึ้น error ตามภาพ เพราะ scale ประกอบด้วยค่าขนาดที่เป็นเปอร์เซ็นต์
Motion Sketch
สอน after effect เรื่องต่อไปจะเกี่ยวกับการทำอนิเมชั่นของตำแหน่ง โดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า Motion Sketch เราสามารถกำหนดkeyframeได้อย่างอิสระ โดยใช้ mouse ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เราไปดูวิธีทำกันเลยครับ
1. เตรียม layer ที่จะทำ จากนั้นไปเลือกที่ Window – Motion Sketch
2. ค่าCapture Speed ที่ 100 คือ ที่ความเร็วในการ captureปกติ ถ้าเราตั้งค่ามากกว่า 100 จะเป็นการทำ speed capture ส่วนการตั้งค่าน้อยกว่า 100 จะเป็นการทำ slow capture ส่วนค่า smoothถ้ายิ่งตั้งค่ามาก จะทำให้ได้จำนวนkeyframe น้อยลง ส่งผลให้การเคลื่อนที่ smoothขึ้น
3. ให้เราทำการกดปุ่ม start capture เมื่อเราคลิกเม้าส์เมื่อไร เวลาจะเริ่มเดินพร้อมทั้งเสียงเพลง เมื่อเราปล่อยเม้าส์จะเป็นการหยุดหรือถ้าเวลาหมด มันก็จะหยุดเอง หลังจากเสร็จสิ้นจะเกิดkeyframe ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
4. เราใช้หลักการเดียวกันนี้ทำกับ dummy layer เช่น solid layer แล้ว copy ค่าที่ได้ไปใส่ไว้ในeffect เช่น Lens Flare
Smoother
หลังจากที่เราได้ใช้คำสั่ง Motion Sketch บางครั้งการเคลื่อนที่ยังดูไม่ค่อยราบรื่นเท่าไร แม้ว่าจะพยายามปรับค่า smooth ในฟังก์ชั่นของ Motion Sketch แล้วก็ตาม เราใช้คำสั่ง Smoother ที่ช่วยให้การเคลื่อนที่ มีความนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น
1. เตรียม layer ที่ได้ทำ Motion Sketch ไว้แล้ว จากนั้นเลือกที่ Window – Smoother
2. ในช่องของSmoother จะมีคำสั่งว่าApply to ถ้าเป็นPosition จะเป็นแบบSpatial Path ส่วนถ้าเป็นproperty แบบอื่นๆ เช่น opacity จะเป็นแบบTemporal Graph ลองปรับค่าTolerance ดูแล้วกดapply ดูผลที่เกิดขึ้น ถ้ายังไม่พอใจให้ undo แล้วปรับค่าTolerance ใหม่
Auto-Orient Rotation
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับให้วัตถุหมุนไปตามทิศทางที่เราได้กำหนดไว้ เช่น เราให้ผีเสื้อเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่เรากำหนด แต่ถ้าผีเสื้อไม่หมุนหัวตาม ก็จะดูไม่เป็นธรรมชาติ
1. เตรียม layer ที่ได้จัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว
2. คลิกเลือกไปที่Position property ใน Timelineแล้วเลือกคำสั่ง Layer – Transform – Auto-Orient
3. เลือก Orient Along Path
4. ปรับองศาการวางตำแหน่งของจุดเริ่มต้นใหม่ โดยปรับ rotation ไปที่ 90 องศา
5. คราวนี้หัวของผีเสื้อก็จะหมุนไปตามทิศทางที่เรากำหนดแล้วครับ
Spatial Path and Temporal Graph
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับ animationส่วนมาก จะมีค่า parameter ให้เลือกว่าจเป็นแบบspatial path หรือ temporal graph ความแตกต่างของมันก็คือ แบบ spatial มันจะเกี่ยวข้องกับแกน XYZ เช่นPosition, Anchor point และก็ Effect point แบบต่าง แต่ Propertiesส่วนมากจะใช้แบบ Temporal แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เราสามารถแก้ไขค่าต่างๆได้ในภายหลังครับ
The Wiggler
เป็นฟังก์ชั่นการทำงานที่จะสร้าง keyframeแทรกขึ้นมาใหม่ระหว่าง keyframe ทั้งสอง โดยกำหนดค่าแบบ random Layer ที่จะใช้งานคำสั่งนี้ต้องมี keyframesอย่างน้อย 2 keyframes ลองมาดูค่าต่างๆใน Wigglerกัน
1. Window - Wiggler
2. ในหน้าต่างของ Wiggler จะมีค่าที่น่าสนใจ ดังนี้
Apply To เราสามารถเลือกเป็นSpatial หรือ Temporal
- Noise Type ต้องการให้ราบเรียบมากหน่อยหรือแบบสั่นเยอะๆ
Dimension ทิศทางที่ต้องการทำ ถ้าเราใช้ค่า All Independently จะเหมาะกับ Position ส่วนAll the same จะเหมาะกับ Scale
- Frequency จำนวนของ keyframe ที่จะสร้างขึ้นมา
Magnitude ค่าของparameter จะ random ไปขนาดไหน
3. วิธีใช้ Wigglerให้เราคลิกไปที่ propertyของเรา จากตัวอย่าง คือ positionเสร็จแล้วไปตั้งค่าตามข้อ 2 จากนั้นกดapply จะมี keyframeเกิดขึ้นมา
Time-Reverse Keyframes
สอน after effect เรื่องต่อไป ผมจะขอแนะนำการทำอนิเมชั่นแบบย้อนกลับ เช่นจากการเดินหน้าก็ให้เดินถอยหลัง เรามีขั้นตอนวิธีทำที่ง่ายมาก ดังนี้
1. คลิกเลือก keyframe ที่ต้องการทำ reverse แล้วคลิกขวา Keyframe Assistant – Time-Reverse Keyframes
2. ถ้าเราต้องการทำ reverse ทั้งหมดทุกkeyframes ให้คลิกเลือกproperty ก่อน ในที่นี้ คือ Position เพื่อเป็นเลือกkeyframes ทั้งหมด แล้วไปที่ Toolbar – Animation – Keyframes Assistant – Time-Reverse Keyframes
Exponential Scale
สอน after effect เรื่องต่อไปจะขอแนะนำเกี่ยวกับการใช้exponential scale ครับ ยกตัวอย่างเมื่อเราทำการ scale เริ่มตั้งแต่ 0ไปจนถึง 1000ผลที่ได้จะเป็นดังภาพครับ คือ การเคลื่อนที่จะเร็วมากในช่วงแรก ในตอนหลังๆการเคลื่อนที่จะช้าลง เหตุผลเนื่องมาจากความสัมพันธ์ในการเพิ่มค่าของแต่ละช่วงไม่เท่ากันครับ
เรามีวิธีแก้ไขให้การเคลื่อนที่ในแต่ละ keyframeมีอัตราที่คงที่ เราไปดูทีละขั้นตอนครับ
1. ให้ตั้ง keyframeแรกจาก 0% เป็น 2%
2. คลิกเลือกไปที่Scale เพื่อเลือก keyframesทั้งหมดแล้วไปที่ Animation – Keyframe Assistant – Exponential Scale
3. จะมีkeyframes เกิดขึ้นมามากมาย และจะมีรูปแบบการเคลื่อนที่เป็นแบบ exponential ซึ่งจะมีความเร็วคงที่

www.effectvideo.com

การตัดต่อภาพเฉพาะส่วน

1. เตรียมรูปภาพที่จะต้องตัดต่อ มา 2 รูป








2.เปิดโปรแกรม Photoshop CS6 และ Open ไฟล์รูปภาพทั้งสองรูปภาพขึ้นมา




3.ใช้เครื่อมือที่ชื่อว่า Quick Selection Tools และค่อยๆลากตามเส้นของภาพที่ต้องการตัดต่อ





4.ไปที่ภาพที่เราต้องการวาง  กด Ctrl + T เพื่อปรับขนาดรูปภาพ




5.ปรับภาพที่ตัดมาแล้วให้เข้ากับมุมมองของภาพที่ต้องการนำไปต่อ
(Image -> Adjustment
->Hue/Satuation....)
(Image -> Adjustment->Vibrance...)





6.ปรับแสง-เงาของภาพและสี ให้สอดคล้องกับบรรยากาศรอบข้างของภาพที่ต้องการนำไปต่อ



https://sites.google.com/site/photoshop9895/kar-tad-tx-phaph-chephaa-swn